สถิติ
เปิดเมื่อ5/07/2019
อัพเดท22/09/2019
ผู้เข้าชม514
แสดงหน้า580
สินค้า
ปฎิทิน
July 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
  




บทความ

วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐมเเละนราธิวาส

ชาวนราธิวาสปัจจุบันแต่งกายกันตามลัทธิศาสนาที่ตนนับถือ ผู้ที่นับ ถือศาสนาอิสลามก็แต่งกายแบบที่นิยมของชาวมุสลิมโดยทั่วไป ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธก็แต่งกายตามแบบของชาวไทยที่นิยมโดยทั่วไป ชาวพุทธไม่ได้นิยมเครื่องแต่งกายแบบชาวฮินดู หรือชาวอินเดียอันเป็นแหล่งของ ศาสนาพุทธ โดยชาวพุทธในชนบทจะแต่งกายแบบไทยแท้ตามสบาย หากอาศัยอยู่ในเมืองจะแต่งกายแบบ สากลหรือตามที่ทางราชการไทยบัญญัตินิยมค่อนข้างไปทางยุโรป ในจังหวัดนราธิวาสมีผู้นับถือศาสนาอื่นๆ

ชาวชนบทตามคำกล่าวข้างต้นที่ว่าแต่งกายตามสบายนั้น เพราะภาคใต้มีลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น ๒ ฤดู คือฤดูร้อน กับ ฤดูฝน เท่านั้น ไม่มีฤดูหนาว ชาวชนบทที่เรียกว่าชาวบ้านนั้น ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม เรื่องการสวมเสื้อมีความจำเป็นน้อย สิ้นเปลือง จึงไม่ใคร่สวมเสื้อ เว้นแต่ผู้หญิง ผู้ชายจะนุ่งโสร่งหรือกางเกงขาสั้น โพกหัวหรือคลุมหัว ทำไร่ ทำนา ทำสวนหรือหาปลา ถ้าเข้าเมืองหรือเข้าสังคม ก็จะแต่งกายเรียบร้อย ตามความนิยมของสังคมในท้องถิ่นนั้น สำหรับชาวมุสลิมผู้คงแก่เรียนในทางศาสนา มักนิยมแบบชาวอาหรับก็มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งจะพบเห็นอยู่ทั่วไป ในยุคโลกาภิวัตน์นี้ การแต่งกายของคนรุ่นใหม่ มักวิวัฒนาการไปตามรูปแบบของชาวยุโรปมาก โดยเฉพาะบุคคลที่ประกอบอาชีพรับราชการ ธุรกิจ หรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ

ประเพณีของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ 

ประเพณีชิงเปรต 

การชิงเปรตเป็นประเพณีเนื่องในเทศกาลเดือนสิบของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ โดยจัดในวัดทุกวัด ในวันแรม ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ โดยทำร้านจัดสำรับอาหารคาวหวาน ไปวางเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้เปรตชน (ปู่ ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้วร้านที่วางอาหารเรียกว่า ร้านเปรต สร้างไว้กลางวัด ยกเสาสูง ๔ เสาบ้าง เสาเดียวบ้าง และนิยมจัดทำร้านเปรต ๒ ร้าน โดยแบ่งออกเป็นร้านเสาสูง สำหรับคนหนุ่มที่มีกำลังวังชาในการปีนป่าย ส่วนอีกร้านเป็นเสาเตี้ยสูงประมาณสะเอว สำหรับให้เด็กและผู้หญิง ได้แย่งชิงเพื่อความสนุกสนาน บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อม ไว้รอบ และต่อยาวไปจนถึงที่พระสงฆ์นั่งประกอบพิธีกรรม เมื่อทำพิธีเสร็จแล้ว จะมีผู้ตีระฆังให้สัญญาณ บรรดาผู้มาร่วมทำบุญ ก็จะเข้าไปรุมแย่งสิ่งของอาหารคาวหวานที่อยู่บนร้านเปรตอย่างสนุกสนาน ซึ่งเรียกกันว่า ชิงเปรต 

********************************************************

 

ประเพณีบังสกุลบัว

การบังกุลบัว คือ การทำบุญระลึกถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว และนำกระดูกมาบรรจุไว้ในบัว(ที่บรรจุอัฐิ)ประจำหมู่บ้าน ในแต่ละวัดหรือบัวประจำตระกูล มีขึ้นระหว่างเดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ ของทุกปีเป็นต้นไป ถือเป็นการชุมนุมญาติของแต่ละหมู่บ้าน ตำบล โดยเมื่อถึงวันบังกุลบัว ญาติพี่น้องลูกหลาน ที่ไปประกอบอาชีพหรือไปอยู่ต่างถิ่น จะพร้อมใจกันกลับบ้าน เพื่อทำบุญในวันนี้ และจะมีการทำความสะอาดตกแต่งบัว บางที่เรียกประเพณีนี้ว่า ทำบุญรดน้ำบัว

*****************************************************************

                ประเพณีลาซัง 

                ลาซัง เป็นประเพณีประจำปีของชาวไทยพุทธ แถวอำเภอ ตากใบ จะเรียกว่า ล้มซัง กินขนมจีน ประเพณีเกิดขึ้นเนื่องจากความเชื่อเรื่องที่นา เรื่องแม่โพสพ โดยเชื่อว่าถ้าจัดทำพิธีนี้แล้ว จะทำให้นาข้าวปีต่อไปนั้นงอกงาม ให้ผลผลิตสูง เพราะชาวนารู้คุณเจ้าที่นา และแม่โพสพ หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ผู้นำชุมชนก็จะกำหนดวันล้มซัง พร้อมนิมนต์พระจากวัดใกล้ๆ ๓-๕ รูป เพื่อทำพิธีทางศาสนา หลังเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านจะนำขนมจีนมาถวายพระ เมื่อพระฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้มาร่วมงานก็จะร่วมรับประทานอาหารคือ ขนมจีนร่วมกัน ในภาคบ่ายจะมีกิจกรรมการละเล่นต่างๆเป็นการสนุกสนาน เช่น ชักคะเย่อ แย้ชิงรู ชนวัว (ปัจจุบันไม่ค่อยจัดแล้วตีไก่ เล่นไพ่ เล่นลูกกอเจาะ(ลูกเต๋าเล่นโป ในบางตำบลของอำเภอตากใบ เช่น พร่อน เกาะสะท้อน โฆษิต จะจัดเป็นเทศกาลประจำปี มีภาพยนตร์ หนังตะลุง และการแสดงอื่นๆในภาคกลางคืนด้วย

******************************************************

ประเพณีลากพระ ลากพระหรือชักพระ 

                  จะกระทำกันหลังจากวันมหาปวารณา หรือวันออกพรรษา ๑ วัน คือ ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธศาสนิกชนจะพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือรถหรือล้อเลื่อน แล้วแห่แหนชักลากไปตามถนน ซึ่งจะไป รวมกัน ณ จุดที่นัดหมาย อาจจะเป็นวัดใดวัดหนึ่ง หรือสถานที่ที่ผู้จัดงานกำหนดไว้ รถหรือล้อเลื่อนนั้น ชาวบ้านมักเรียกว่า เรือพระ ปกติจะตกแต่งเป็นรูปเรือ โดยใช้คนลากเชือกเป็น ๒ สาย บนเรือพระจะมีคน ตีโพน การตีโพนนั้นเพื่อปลุกใจให้ชาวบ้านกระตือรือร้นมาร่วมพิธีลากพระ และเรียกให้ชาวบ้านที่อยู่แนวถนนได้มาร่วมพิธีเท่าที่มีเวลา อาจจะเพียงช่วงระยะทาง ๑๐-๒๐ เมตร และร่วมทำบุญตามศรัทธา 

                เมื่อเรือพระ แต่ละลำ เดินทางไปถึงจุดนัดหมาย ก็จะมีพิธีกรรมและกิจกรรม โดยชาวบ้านจะนำอาหารถวายพระสงฆ์ที่มาพร้อมกับเรือพระ หรือพระสงฆ์ที่ชาวบ้านนิมนต์มาเพื่อร่วมงานลากพระ เพื่อพระฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านก็จะร่วมกันรับประทานอาหาร และร่วมกิจกรรมเพื่อความสนุกสนาน และความสามัคคี กิจกรรมที่จัดในงานประเพณีลากพระ ได้แก่ การประกวดเรือพระ การแข่งขันตีโพน หรือกลองใหญ่ การแข่งขันซัดต้ม และการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน

 

*********************************************************************************************

 

            

ประเพณีชองชาวไทยมุสลิม 

 

            มาแกปูโละ ( งานแต่งงาน )

                    มาแกปูโละ” เป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า “กินเหนียว” ประเพณีการกินเหนียวของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จะใช้ในหลายโอกาส เช่น แต่งงาน และเข้าสุหนัต คำว่า  กินเหนียว” มิใช่ว่าเจ้าของจะบริการอาหารเฉพาะข้าวเหนียวเท่านั้น แต่เป็นการเลี้ยงอาหารธรรมดาทั่วไปนั่นเอง 

****************************************************

                การเข้าสุหนัต

                   

  เป็นหลักการของศาสนาอิสลาม อันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องความสะอาด คือการขลิบผิวหนังหุ้มส่วนปลายอวัยวะเพศชายหรือเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “มาโซะยาวี” ซึ่งจะทำแก่เด็กชายที่มีอายุระหว่าง ๒-๑๐ ปีส่วนการจัดเลี้ยงอาหารในวันเข้าสุหนัตถือว่าเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง

*****************************************************************

 

                   

                     

            

            วันฮารีรายอ 

                    วันฮารีรายอ มีอยู่ ๒ วันคือ 

                1. วันอิฏิลฟิตรี หรือที่เรียกว่า วันฮารีรายอปอซอ เป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องจากการสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เป็นการกลับเข้าสู่สภาพเดิมคือ สภาพที่ไม่ต้องอดอาหาร ไม่ต้องอดน้ำ ฯลฯ อีกต่อไป ซึ่งตรงกับวันที่หนึ่งของเดือนเซาวาล เป็นเดือนที่ ๑๐ ทางจันทรคติ และทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยกเว้นสงขลา๑ วัน

                2. วันอิฎิลอัตฮา หรือที่เรียกว่า วันฮารีรายอหัจญี หมายถึงวันเฉลิม

                    ฉลองเนื่องในวันเชือดสัตว์พลีเป็นทานบริจาคอาหารแก่คนยากจนและประชาชนทั่วไป ตรงกับวันที่ ๑๐ ของเดือนซุลอิจญะ เป็นเวลาเดียวกับการประกอบพิธีหัจญ์ ณ นครเมกกะของมุสลิมทั่วโลก ดังนั้นชาวไทยมุสลิมจึงนิยมเรียกวันตรุษนี้ว่า วันอีดใหญ่หรือวันรายอหัจญี และทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยกเว้นสงขลา๑ วัน

*****************************************************************

                   

                     วันอาซูรอ 

                 

   อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ หมายถึง วันที่ ๑๐ ของเดือนมุฮัรรอน ซึ่งเป็นเดือนทางศักราชอิสลาม ในสมัย ท่าน นบีนุฮ์ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ยังความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการขาดอาหารบริโภค จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน เนื่องจากต่างคนต่างมีของคนละอย่างไม่เหมือนกัน ท่าน นบีนุฮ ์ ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน สาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัย ท่าน นบีมูฮัมหมัด (ศ็อลได้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันขณะที่กองทหารของท่านกลับจากการรบที่ บาดัร ปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่าน นบีมูฮัมหมัด(ศ็อลจึงใช้วิธีการของท่าน นบีนุฮห์ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันรับประทานในหมู่ทหาร

5.ประเพณี/วัฒนธรรม/กิจกรรมของจังหวัดนครปฐม

งานนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิง
 
                วัดไร่ขิง  หรือ วัดมงคลจินดาราม  ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพรานห่างจากกรุงเทพฯ 32 กม.มีทางเข้า 3 ทาง  คือ  ทางแยกหน้าสถานี ตำรวจโพธิ์แก้ว  ทางแยกหน้าสวนสามพราน และทางแยกพุทธมณฑลสาย 5 วัดไร่ขิง เป็นวัดราษฎร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2334 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เรียกชื่อวัดตามชื่อตำบล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย  ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนา และล้านช้าง ตามตำนาน เล่าว่าลอยน้ำมา และอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดศาลาปูน วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชทานนามว่าวัดมงคลจินดาราม(ไร่ขิง)ชาวบ้านเรียกกันเต็มๆว่า วัดมงคลจินดารามไร่ขิงจนกระทั่งเหลือแต่ชื่อวัดไร่ขิงไปในที่สุด วัดไร่ขิงเป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันดี  นิยมเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงกันอยู่เสมอ  ทุกวันอาทิตย์จะมีตลาดนัดอาหารและผลไม้จำหน่ายหน้าวัด และที่บริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์จะมีชาวสวนพายเรือนำผลไม้มาขาย และบริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์นี้เป็นเขตอภัยทาน ร่มรื่น มีปลาสวายตัวโตนับพันอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวสามารถซื้อขนมปังเลี้ยงปลาได้ และยังมีก๋วยเตี๋ยวเรือ (หมู) รสเลิศขายทุกวัน นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า  รวบรวมของเก่าเช่นถ้วยชาม  หนังสือเก่า ซึ่งชาวบ้านนำมาถวายวัดจัดแสดงไว้ ในระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี ทางวัดไร่ขิงจะจัดงานนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้น มีการออกร้านและมหรสพมากมาย
 
งานประเพณีสงกรานต์ 
 
                งานประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17เมษายน บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์มีการทำบุญสรงน้ำพระพุทธรูปพระร่วงโรจนฤทธิ์ ก่อพระเจดีย์ทราย มีมหรสพการละเล่นพื้นเมือง ซึ่งวันสงกรานต์ป็นเทศกาลวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของคนไทย ซึ่งยึดถือสืบเนื่องมาแต่โบราณ เป็นระยะเวลาเข้าฤดูร้อนที่เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าว จึงว่างจากการงานประจำ มีการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงร่วมกันในแต่ละหมู่บ้าน ตำบลหรือเมืองหนึ่ง ๆ แม้ปัจจุบันทางราชการประกาศวันที่ ๓๑ ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ประเพณีการทำบุญและการรื่นเริงในวันตรุษและสงกรานต์ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยตรุษสงกรานต์ถือเป็นนักขัตฤกษ์ที่ขึ้นหน้าขึ้นตามาแต่ดึกดำบรรพ์ ก่อนจะถึงวันสงกรานต์จะมีการเตรียมเครื่องแต่งตัวประกวดประขันกัน
งานเทศกาลอาหาร และผลไม้นครปฐม
 
                งานเทศกาลอาหาร และผลไม้นครปฐม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-7 กันยายน ณ บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของจังหวัด ผลไม้ที่นิยมปลูกในจังหวัดนครปฐมได้แก่ ส้มโอ และมะพร้าวน้ำหอม  ส้มเขียวหวาน ขนุน พุทรา องุ่น มะละกอและยังมีผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปอื่น  ๆ  ระหว่างงานมีการประกวดสาวงาม ประกวดผลไม้ และการจัดโต๊ะจีน การสาธิตปรุงอาหารที่มีชื่อ สาธิตการแกะสลักผลไม้  การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน มหรสพต่าง ๆ จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกพื้นเมือง
 
งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ 
 
               พระปฐมเจดีย์ นครปฐม-จังหวัดนครปฐมเตรียมจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2553 ระหว่างวันที่ 18 - 26 พฤศจิกายน 2553  รวมงาน 9 วัน 9 คืนภูมิหลังงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  หลังจากที่โปรดเกล้าฯ  ให้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่แล้ว ยังให้ขุด  ' คลองเจดีย์บูชา ' ตั้งแต่บ้านท่านามาจนถึงกลางเมืองนครปฐม เพื่อใช้เป็นเส้นทางมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์อีกด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้า ให้ดำเนินการปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์สืบต่อมา และงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ก็จัดขึ้นเป็นประจำ สำหรับการจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2553 ในปีนี้

             พระธรรมปริยัติเวที เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ประธานจัดงานเทศกาลนมัสการ องค์พระปฐมเจดีย์ ปี 2552 กล่าวว่า องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐมเป็นปูชนียสถาน   ที่สำคัญยิ่งเป็นศูนย์รวมแห่งสถาบันสำคัญทั้งสาม  คือสถาบันชาติ  สถาบันพระพุทธศาสนา   และสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน  เป็นพระเจดีย์ที่ก่อสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมีอายุนับพันปีภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก  ครั้งโบราณได้กำหนดการจัดงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์  ในวันเพ็ญกลางเดือน 12 เป็นประจำทุกปี ประเพณีสืบทอดตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อจะได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุประหนึ่งมาเฝ้าอยู่เบื้องพระยุคลบาทแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  นับว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐสุดและอีกประการหนึ่งก็เพื่อจะได้ช่วยกันบริจาคเงินสมทบทุนไว้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ให้ยืนยงคงอยู่ตลอดไป 
    

 
งานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ช้างและประกวดราชินีช้าง 
 
                 งานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ช้างและประกวดราชินีช้าง  จัดในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันแรงงานแห่งชาติ  วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีที่ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณแก่ช้างภายในฟาร์ม มีการประกวดราชินีช้างของสาวหุ่นตุ้ยนุ้ย เพื่อหาผู้ที่สามารถถ่ายทอดบุคลิก ความน่ารักอ่อนโยน นุ่มนวลแบบช้างลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน    จัดงานประเพณีเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ช้างหรือ   “Jumbo Banquet”   ในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้   ณ  ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน อ.สามพราน  จ.นครปฐม  โดยการจัดงานในครั้งนี้  เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณช้าง ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาช้านาน ทั้งยังมีความฉลาดแสนรู้   มีความสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดนครปฐม พร้อมทั้งรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์ช้างที่ใกล้จะสูญพันธุ์